การทำงานเพื่อยุติเอดส์ในประเทศไทย “อีกนิด...พิชิตเอดส์” หรือ AIDS-Almost Zero คือ การรวมตัวของภาคประชาสังคมกว่า 30 องค์กร ซึ่งทำงานร่วมกับภาคธุรกิจที่มีหัวใจช่วยเหลือสังคม ในการแก้ไขปัญหาที่สำคัญระดับชาติ จึงเกิดกลไก ภายใต้ชื่อ “คณะกรรมการอีกนิดพิชิตเอดส์” : AIDS-Almost Zero Committee โดยการสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการจาก UNAIDS และได้มอบหมายให้มูลนิธิเอดส์แห่งประเทศไทย เป็นองค์กรแกนกลางในการระดมทุน เพื่อจัดสรรสู่องค์กรที่นำเสนอโครงการทำงานด้านเอดส์ ตามมาตรฐานและเป้าหมายในการพิชิตเอดส์ ซึ่งเป็นมาตรฐานเดียวกับกองทุนโลก และนำมาปรับใช้กับการทำงานโดยกลไกภายในประเทศ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
คณะกรรมการอีกนิดพิชิตเอดส์ มีศักยภาพในการทำงาน โดยได้รับการพัฒนาทักษะ และกระบวนการทำงาน จากกองทุนโลก ตามมาตรฐาน “เกิดผลจริง วัดได้ มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้”
นับจากปี พ.ศ. 2546 เป็นต้นมา
ประเทศไทยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนโลกเพื่อสู้เอดส์
วัณโรค และมาลาเรีย (Global Fund) โดยได้ดำเนินงานโครงการต่าง ๆ โดยได้พัฒนาและดูแลรักษาผู้ป่วยมาตลอด
เนื่องจากประเทศถูกยกระดับให้เป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับสูง
ซึ่งไม่อยู่ในเงื่อนไขที่กองทุนโลก จะให้การสนับสนุนโครงการต่อได้
ประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคเอดส์ครั้งแรก
ประเทศไทยลงนามพันธสัญญา ร่วมกับประชาคมโลก เพื่อยุติเอดส์ ภายในปี พ.ศ.2573
ไทยประสบความสำเร็จ ลดอัตราการติดเชื้อฯ จากแม่สู่ลูก ต่ำกว่า 2% เป็นประเทศแรก ของเอเชียและลำดับที่ 2 ของโลก
มูลนิธิเอดส์แห่งประเทศไทย เป็นองค์กรสาธารณกุศล ลำดับที่ 717 ตามประกาศกระทรวงการคลังใบเสร็จรับเงินสามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้ประจำปี
กรุณาแนบหลักฐานการโอนเงินบริจาคส่งกลับมาที่ มูลนิธิเอดส์แห่งประเทศไทย
หรือส่งโทรสาร. 02-618-4748 หรือ อีเมล
CRM@aidsalmostzero.org
การทำงานของ 30 องค์กรภาคประชาสังคม
ที่รวมกันในโครงการ “อีกนิดพิชิตเอดส์“
โดยใช้แผนงานของประเทศ และยุทธศาสตร์
สำคัญในการลดอัตราการติดเอชไอวีให้หมด
ไปจากประเทศไทย คือ
191 ซอย พหลโยธิน 11 แขวงสามเสนใน
เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
โทร. 02-279-7022-3, 02-279-2952
โทรสาร. 02-618-4748
อีเมล CRM@aidsalmostzero.org
การเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงปี 2523 – 2532 นำมาซึ่งการเกิดการทำงานสาธารณประโยชน์ อาทิ มูลนิธิ องค์กร หน่วยงาน สมาคม จำนวนกว่า 12,000 กลุ่ม/องค์กร หรือเรียกว่า “องค์กรภาคประชาสังคม” (Civil Society Organization หรือ CSO) ที่มีเป้าหมายการทำงานเพื่อ พัฒนาและสร้างความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน ให้สามารถปรับตัวสอดรับกับความเปลี่ยนแปลง ได้รับโอกาส ได้รับความช่วยเหลือเมื่อเผชิญกับปัญหาทั้งด้านสุขภาพ สิ่งแวดล้อม การประกอบอาชีพ และการศึกษา
“ภาคประชาสังคมมีบทบาทสูงในการช่วยให้ประชากรมีความรู้ ความเข้าใจมากขึ้น ต่อการมีส่วนร่วมในนโยบายต่างๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อการมีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของเขาโดยตรง..”(Asian Development Bank report : ปี 2554)
ที่ผ่านมาภาคประชาสังคมมีบทบาทสำคัญในการเติมเต็มการทำงานให้สอดคล้องกับนโยบายของประเทศ โดยเฉพาะการทำงานร่วมกับกลุ่มเป้าหมายโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นงานด้านสิ่งแวดล้อม การศึกษา สุขภาพ รวมถึงเอชไอวีด้วยเช่นกัน
ทำไมเรายังคงให้ความสำคัญกับการแพร่ระบาดของเอชไอวี ....ในปี 2558 องค์การสหประชาชาติ ได้ประมาณว่าทั่วโลก มีผู้อยู่ร่วมกับเอชไอวีมีจำนวน 36.7 ล้านคน รวมทั้ง เด็กจำนวน 1.8 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้จำนวน 35 ล้านคน
UNAIDS ซึ่งเป็นองค์การสหประชาชาติ ตั้งขึ้นมาเพื่อทำงานด้านเอดส์โดยเฉพาะ ประกาศว่าการทำงานต่อสู้กับเอดส์ ควรมีเป้าหมาย โดยตั้งเป้าให้ยุติเอดส์ภายในปี 2573 หรืออีก 14 ปีข้างหน้า (Ending AIDS by 2030)
การทำงานเพื่อยุติเอดส์ในประเทศไทย ไม่ใช่เป็นหน้าที่ของภาครัฐบาล ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน หรือของใครคนใดคนหนึ่ง หากแต่เป็นความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของสังคมที่สนับสนุนการ-ขับเคลื่อนให้ไทยเป็นประเทศที่ไม่มีผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่
ความพยายามพิชิตการแพร่ระบาดของเอชไอวีในสังคมไทย นอกจากรัฐบาลที่มุ่งเน้นบริการดูแลรักษาแล้ว ยังมีองค์กรภาคประชาสังคม (Civil Society Organization) ที่ทำงานด้านเอดส์จากทั่วประเทศไทย จำนวนมากกว่า 100 องค์กร เป็นผู้ขับเคลื่อนสำคัญที่สนับสนุนการทำงานของภาครัฐและสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อฯ และช่วยเหลือผู้ติดเชื้อฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น องค์กรเหล่านี้ มีการจัดตั้งเป็นองค์กรทางการ ทั้งในรูปแบบที่จดทะเบียนเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ เช่น มูลนิธิ สมาคม หรือเป็นองค์กรที่ไม่จดทะเบียน แต่ทำงานในรูปแบบที่มีการจัดตั้งองค์กร และมีการบริหารจัดการในรูปแบบขององค์กร รวมทั้งองค์กรที่เป็นเครือข่าย ตัวแทนของกลุ่มประชากรที่ได้รับผลกระทบจากเอดส์
● ทํางานใกล้ชิด มีความเข้าใจกลุ่มประชากร บางครั้งเป็นองค์กรที่เกิดจากกลุ่มประชากรนั้นๆ ● ทํางานได้คล่องตัว ไม่ติดยึดกับระเบียบราชการ ● ไม่แสวงหาผลกําไร จึงไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม นอกจากที่จําเป็นต่อการเกิดผลจริงๆ ● สามารถทํางานในกลุ่มประชากรที่มีความเปราะบาง เข้าถึงยาก เช่น พนักงานบริการในสถานบันเทิง กลุ่มผู้ใช้ยาเสพติด
ในระยะเวลา 25 ปีที่ผ่านมา องค์กรภาคประชาสังคม เข้ามามีบทบาทอย่างมากในการทำกิจกรรมเชิงรุก เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ให้เกิดความตระหนักในการป้องกันเอดส์ เช่น แจกถุงยางอนามัย หรือแม้แต่เข็มฉีดยา/กระบอกฉีดยา เพื่อลดการแพร่ระบาดของเอชไอวี สนับสนุนการจัดบริการของโรงพยาบาล สำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ณ จุดบริการ เช่น ศูนย์องค์รวม จัดหน่วยบริการเคลื่อนที่ในชุมชน เพื่อเติมเต็มการทำงานร่วมกับภาครัฐ ที่มีไม่เพียงพอ รวมทั้งจัดกิจกรรมรณรงค์สาธารณะ เพื่อให้คนทั่วไปและผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถอยู่ร่วมกันได้ และเคารพซึ่งกันและกัน
นับตั้งแต่ปี 2527 ประเทศไทยเผชิญกับสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อเอชไอวี โดยเฉพาะในกลุ่มประชากรวัยทำงานที่จำเป็นต่อการขับเคลื่อนภาคเศรษฐกิจ ในช่วงเวลาที่ผ่านมานั้น ไทยมีการเปลี่ยนแปลงก้าวสำคัญ คือ จากสังคมเกษตรกรรมมาเป็นสังคมอุตสาหกรรมและการบริการ ทำให้แรงงานภาคการเกษตรที่มีรายได้ไม่แน่นอน ซึ่งจากสถานการณ์ดังกล่าว ทำให้ครอบครัวได้รับผลกระทบอย่างหนัก สูญเสียรายได้ ไม่มีอาชีพ ถูกให้ออกจากงาน เจ็บป่วยไม่ได้รับการรักษา อีกทั้งยังถูกรังเกียจและกีดกันจากสังคม และทำให้ผู้ติดเชื้อต้องปกปิดตัวเอง
ประเทศไทย ให้ความสำคัญกับปัญหาการระบาดของเอชไอวี ที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตประชากร และตระหนักดีว่า หากประเทศไทยยังไม่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของการติดเชื้อเอชไอวีได้ก็จะไม่สามารถสร้างสังคมที่เข้มแข็งได้ในอนาคต จึงได้มีความพยายามในการแก้ไขปัญหาเอดส์มาอย่างต่อเนื่อง ดังนโยบายรัฐบาล สมัยนายกรัฐมนตรีอานันท์ ปันยารชุน ได้กำหนดให้ปัญหาเอดส์เป็น “วาระแห่งชาติ” ว่าด้วยเรื่อง นโยบายสังคม เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2534 ความว่า
“เร่งรัด ควบคุม ป้องกัน โรคติดต่อ โดยเฉพาะโรคเอดส์ให้ได้ผล และร่วมกับภาคเอกชนและองค์กรสาธารณประโยชน์ ในการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตระหนักในภัยของโรค และเกิดจิตสำนึกว่าเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องร่วมกันป้องกันและแก้ไขปัญหานี้”
อันนำมาซึ่งการริเริ่มและระดมความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เข้าร่วมในการแก้ไขปัญหาเอดส์ ภาครัฐจึงมีการทุ่มเทงบประมาณ วางนโยบายและมาตรการทำงาน ทั้งในด้านการวิจัยและรักษา การป้องกัน การประชาสัมพันธ์และให้ความรู้แก่ประชาชน ในขณะที่ภาคประชาสังคมมีบทบาทที่สำคัญในการทำงานเชิงรุกกับกลุ่มเป้าหมาย และพยายามแสวงหาแหล่งทุนทั้งจากในและต่างประเทศมาทำงาน เพื่อต่อสู้กับการแพร่ระบาดของเอชไอวี จึงทำให้อัตราการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ลดจำนวนลงอย่างต่อเนื่อง
จนในปี 2559 ประเทศไทยประสบความสำเร็จในการลดอัตราการถ่ายทอดเชื้อฯ จากแม่สู่ลูก ระดับมาตรฐานโลก ขององค์การอนามัยโลก (WHO) ซึ่งถือเป็นประเทศแรกที่ทำสำเร็จในทวีปเอเชียและประเทศที่สองของโลก และพบว่า หลายกลุ่มประชากรมีอัตราการติดเชื้อเอชไอวีลดลงอย่างมาก จนเป้าหมายการยุติเอดส์ภายในปี 2573 ดูจะเป็นจริงขึ้นได้ แต่กลุ่มประชากรที่มีอัตราการติดเชื้อเอชไอวีสูงนั้น เป็นกลุ่มประชากรที่เข้าถึงยากซึ่งเป็นผู้ทีมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี อันได้แก่ ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายและสาวประเภทสอง (Transgender) ผู้ใช้ยาเสพติดชนิดฉีด พนักงานบริการทางเพศทั้งหญิงและชาย และแรงงานข้ามชาติในบางอาชีพ
จากสถิติในปี 2558 พบว่า ประเทศไทยมีจำนวนผู้ติดเชื้อเอชไอวีจำนวน 437,700 คน เป็นผู้ติดเชื้อรายใหม่มากถึง 6,900 คน และเสียชีวิตด้วยเอดส์จำนวน 16,100 คน สาเหตุของผู้ติดเชื้อรายใหม่ เนื่องจาก การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ป้องกัน รวมทั้ง การใช้เข็มฉีดยาร่วมกันของผู้ใช้ยาเสพติดชนิดฉีด
การทำงานของภาคประชาสังคม เป็นยุทธศาสตร์ระดับชาติที่สำคัญ ซึ่งภาครัฐ โดยโรงพยาบาลในระดับต่างๆ ยังไม่สามารถเข้าถึงกลุ่มประชากรที่เข้าถึงยาก แต่การทำงานของภาคประชาสังคมทุกวันนี้ ไม่ได้ใช้งบประมาณของแผ่นดิน เนื่องจากงบประมาณของประเทศร้อยละ 90 ใช้ในการดูแลรักษาผู้ที่อยู่ร่วมกับเอชไอวีเป็นหลัก
กองทุนโลก (Global Fund) ได้สนับสนุนกิจกรรมที่ภาคประชาสังคมทำมาร่วม 14 ปี ด้วยได้รับงบประมาณไม่ต่ำกว่า 500 ล้านบาทต่อปี เพื่อทำให้เกิดการป้องกันและเข้าถึงบริการตรวจรักษา ของประชากรทั่วไป เยาวชน และกลุ่มเข้าถึงยาก ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี แต่ตามเงื่อนไขของกองทุนโลก จะไม่สนับสนุนประเทศที่พัฒนาในระดับเศรษฐกิจปานกลางถึงค่อนข้างสูง ซึ่งประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศกลุ่มนี้ด้วย ดังนั้นในอีก 1-3 ปีข้างหน้า งบประมาณจากต่างประเทศ ที่เคยสนับสนุนงานป้องกันเอชไอวีกำลังหมดลง จึงมีแนวโน้มว่า ภาคประชาสังคมจะขาดงบประมาณดำเนินงานป้องกันเอชไอวี
ทุกวันนี้เอดส์ยังไม่หายไปจากสังคมไทย จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นปีละประมาน 6,900 คน เพราะพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ป้องกัน หรือการใช้ถุงยางอนามัยยังมีค่าเฉลี่ยต่ำในกลุ่มผู้มีเพศสัมพันธ์ รวมถึงวัยรุ่นและเยาวชนที่มีเพศสัมพันธ์เร็วขึ้นและไม่ป้องกัน ทำให้เกิดการตั้งครรภ์ไม่พร้อมจำนวนมาก ในขณะเดียวกันสังคมไทยกำลังเข้าสู่สังคมที่มีจำนวนผู้สูงวัยมากขึ้น ดังนั้นประชากรที่จะเติบโตเข้าสู่วัยทำงานจะต้องรับภาระยาวนาน และหนักมากขึ้นไปด้วย
หากต่างประเทศลดหรือยุติการช่วยเหลือการทำงานป้องกันเอดส์ในประเทศไทย การทำงานของภาคประชาสังคมจะต้องจบลงด้วย แม้ว่ารัฐบาลจะพยายามจัดสรรงบประมาณมาสนับสนุน แต่ยังไม่เพียงพอ มีข้อจำกัดในระเบียบการใช้งบประมาณ ในขณะที่ภาคประชาสังคม ยังมีภารกิจที่ต้องทำงานอย่างต่อเนื่อง ทั้งในการเข้าถึงกลุ่มประชากรและทำให้เกิดการป้องกันเอชไอวี การตรวจหาภาวะมีเชื้อฯและเข้าถึงการรักษา รวมทั้งการส่งเสริมความเข้าใจในสังคม
ภาคประชาสังคมมีศักยภาพในการทำงาน โดยได้รับการพัฒนาทักษะ และกระบวนการทำงาน จากกองทุนโลก ตามมาตรฐาน “เกิดผลจริง วัดได้ มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้”
การทำงานเพื่อยุติเอดส์ในครั้งนี้ ถือว่าเป็นประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญในประเทศไทย ที่มีภาคประชาสังคม กว่า 30 องค์กร ได้มารวมกันเป็นแกนกลาง ทำงานร่วมกับภาคธุรกิจที่มีหัวใจช่วยเหลือสังคม ในการแก้ไขปัญหาที่สำคัญระดับชาติ ดำเนินงานภายใต้ชื่อ “คณะกรรมการอีกนิดพิชิตเอดส์” : AIDS-Almost Zero Committee โดยการสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการจาก UNAIDS และได้มอบหมายให้มูลนิธิเอดส์แห่งประเทศไทย เป็นองค์กรแกนกลางในการระดมทุน เพื่อจัดสรรสู่องค์กรที่นำเสนอโครงการทำงานด้านเอดส์ ตามมาตรฐานและเป้าหมายในการพิชิตเอดส์ ซึ่งเป็นมาตรฐานเดียวกับกองทุนโลก และนำมาปรับใช้กับการทำงานโดยกลไกภายในประเทศเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
หลักคิดที่สำคัญ คือ “รู้เร็ว รักษาเร็ว ลดโอกาสในการแพร่เชื้อต่อ” เราต้องการให้ มีโครงการที่เข้าถึงกลุ่มประชากรที่มีโอกาสรับเอชไอวีสูง แนะนำให้เกิดการป้องกันเอดส์ที่ถูกวิธี และหากเคยมีพฤติกรรมเสี่ยงให้ “เข้าตรวจเอชไอวี” เพื่อการรักษาทันที เมื่อมีการรักษาเร็ว ยาต้านไวรัสจะลดจำนวนไวรัสในร่างกายลง จนนอกจากจะไม่ป่วยแล้ว โอกาสในการเผยแพร่เชื้อเอชไอวีให้ผู้อื่นจะน้อย หรือ ไม่มีโอกาสแพร่เชื้อเอชไอวี
การทำงานในแต่ละโครงการจะเป็นการวางแผนโดยคณะกรรมการวิชาการที่มีประสบการณ์ในการดำเนินงานด้านป้องกันเอชไอวีในกลุ่มประชากร และ มีกลไกการติดตามผล รายงานผล และ ประเมินผล ที่จะนำเสนออย่างโปร่งใส